วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ทดสอบแยกไพล์วีดีโอ


ทดสอบสร้างลิ้งก์

นกประหลอดดำ
นกประหลอด

                                ชื่อ
                                ชื่อเล่น
                                ที่อยู่
                                เบอร์โทร

นกอีแจว
นกอีแจว Hydrophasianus chirurgus (Pheasant-tailed Jacana) ได้ชื่อว่าเป็นราชินีนกน้ำเพราะรูปร่างหน้าตาที่สวยงามโดยเฉพาะในชุดขนฤดูผสมพันธุ์

นกชนิดนี้ได้ชื่อไทยว่าอีแจวเพราะเมื่อนกตัวเมียวางไข่แล้วก็จะแจวจากไปหาคู่ใหม่ และปล่อยให้นกตัวผู้กกไข่และเลี้ยงลูกไปตามลำพัง หรือจะได้ชื่อนี้มาจากเสียงร้องแจ๊วๆ แจวๆก็ไม่แน่ใจ เพราะฟังแล้วน่าเชื่อถือทั้งคู่ (แม้ว่าฝรั่งจะได้ยินนกชนิดนี้ร้องเหมือนแมวร้องแบบโกรธๆก็ตาม)


ความยาวจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ31เซ็นติเมตร นกตัวเมียตัวโตกว่านกตัวผู้เล็กน้อย แต่ไม่มีความแตกต่างในชุดขนทำให้จำแนกได้ยากเมื่อเห็นทีละตัวในธรรมชาติ


ในชุดขนนอกฤดูผสมพันธุ์นกจะมีลักษณะคล้ายนกพริกตัวไม่เต็มวัยเพราะจะมีลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ลำตัวด้านล่างสีขาว เมื่อรวมกับรูปทรงที่คล้ายคลึงกันอาจทำให้จำแนกผิดได้ ดังนั้นจึงต้องสังเกตที่แถบตาสีดำที่ลากผ่านคอด้านข้างต่อเนื่องลงมาถึงแถบอก และแถบข้างคอจนถึงท้ายทอยสีเหลืองของนกอีแจวไว้ให้ดี

ดูนกในชุดขนนอกฤดูผสมพันธุ์ คลิกที่นี่


ในชุดขนฤดูผสมพันธุ์ นกชนิดนี้จะมีขนคลุมร่างกายส่วนใหญ่เป็นสีน้ำตาล ดำ ทำให้หน้า หน้าผาก คอและแถบปีกสีขาวดูโดดเด่นออกมา แต่เวลาก้มหัวก็จะเห็นแต้มสีน้ำตาลเข้มที่กระหม่อม มีเส้นสีดำหรือน้ำตาลเข้มพาดผ่านแต้มที่กระหม่อมนี้ลากยาวผ่านข้างคอทั้งสองข้างลงไปยังหน้าอกด้านข้างเหมือนเป็นเส้นขอบให้แถบขนสีเหลืองทองสดใสซึ่งกินบริเวณยาวลงไปถึงท้ายทอย หางสีดำที่ยื่นยาวออกมามากจากหางปรกติยาวได้ตั้งแต่ 8-27 เซ็นติเมตร ทำให้นกชนิดนี้แตกต่างจากนกน้ำอื่นอย่างเห็นได้ชัด






ในแต่ละปีนกจะมีช่วงผลัดขนหนึ่งครั้ง และในช่วงนี้นกอีแจวจะไม่สามารถบินได้ การหลบหนีศัตรูต้องใช้การว่ายน้ำ ดำน้ำและหลบซ่อนตัวเท่านั้น

นกอีแจวทำรังวางไข่บนพืชลอยน้ำในบึงซึ่งเป็นแหล่งอาศัยในช่วงฤดูฝน การแสดงบทบาทในเรื่องนี้ของนกในวงศ์นกพริก(Jacanidae)ถือว่ากลับกันกับสัตว์ชนิดอื่นๆ กล่าวคือนกตัวผู้ทำรัง ดูแลรัง กกไข่และเลี้ยงลูก ขณะที่นกตัวเมียซึ่งตัวโตกว่า ก้าวร้าวกว่าเป็นผู้ปกป้องรัง ปกป้องคู่หรือปกป้องอาณาเขต

นกตัวเมียจับคู่กับตัวผู้หลายตัวในหนึ่งฤดูกาล ซึ่งหมายความว่าจะต้องดูแลอาณาเขตมากกว่าหนึ่งอาณาเขตด้วย




เมื่อนกอีแจวตัวเมียวางไข่ซึ่งมีประมาณครอกละ4ฟองแล้วก็จะไปจับคู่กับนกตัวผู้ตัวใหม่เพื่อวางไข่ครอกต่อไป ขณะที่นกตัวผู้เจ้าของผลงานก้มหน้าก้มตากกไข่เป็นเวลายี่สิบสองถึงยี่สิบแปดวันโดยนกตัวเมียจะคอยช่วยปกป้องดูแล เมื่อลูกนกฟักเป็นตัวแล้วก็จะเลี้ยงลูกเป็นคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว อย่างไรก็ตาม การที่นกตัวเมียจับคู่กับนกตัวผู้ทีละหลายตัวก็ทำให้นกตัวผู้ที่ฟักไข่และดูแลลูกอาจจะกำลังดูแลลูกที่ไม่ใช่ผลผลิตของตัวเองก็เป็นได้




เข้าใจว่าการที่นกต้องมีพฤติกรรมเช่นนี้เพราะว่าไข่ที่ถูกวางไปแต่ละรุ่นนั้นมีอัตราการรอดชีวิตจนโตเพียงไม่ถึงครึ่งเนื่องจากสภาพแวดล้อมเช่นภาวะน้ำท่วมและสัตว์ศัตรูเช่นงูน้ำ นกใหญ่ ที่จะมาทำลายไข่ ทำให้แม่นกต้องลดเวลาที่ต้องใช้ในการกกไข่ลงไปเพื่อผลิตไข่เพิ่มเติมแทน




ลูกนกอีแจวแรกเกิดมีขนอ่อนนุ่มแบบลูกเจี๊ยบ มีสีสันที่เหมาะกับการพรางตัว มีเท้าใหญ่โตเหมือนพ่อแม่ เกิดมาก็เดินและว่ายน้ำดำน้ำได้เลย พ่อนกจะสอนให้ลูกเดินหาอาหารและหลบศัตรู มีผู้พบว่าลูกนกอีแจวสามารถดำน้ำหลบศัตรูได้โดยโผล่มาแต่ปลายปากนิดๆที่มีรูสำหรับหายใจ




พ่อนกอีแจวเป็นพ่อที่ทุ่มเทให้กับการเลี้ยงลูกมาก บางครั้งก็แกล้งทำปีกหักหรือแกล้งกกไข่ในที่ที่ไม่มีไข่เพื่อให้ศัตรูมาสนใจตัวเองแทนลูกๆ นอกจากนี้ยังมีเสียงร้องระวังภัยสำหรับเรียกลูกๆกลับมาซุกใต้ปีกหรือให้ไปหลบตามกอพืชน้ำ หรือดำน้ำหลบ และเมื่อปลอดภัยก็ส่งเสียงบอกลูกๆให้โผล่ขึ้นมาได้ด้วย




อาหารของนกชนิดนี้คือแมลงเล็กๆหรือเมล็ดพืชที่จับและจิกกินได้ตามผิวน้ำและตามกอพืชน้ำในบึง ด้วยนิ้วเท้ายาวเก้งก้างตามแบบฉบับของนกน้ำทำให้นกอีแจวเดินบนพืชลอยน้ำได้อย่างสบาย หากจะหล่นก็กระพือปีกช่วยได้ นอกจากนี้นกอีแจวว่ายน้ำได้คล่อง และบินได้ดีพอสมควร




นกชนิดนี้มีการกระจายถิ่นในปากีสถาน เนปาล อินเดีย ศรีลังกา จนถึงพม่า ตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ไต้หวัน ลงใต้ไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คามสมุทรมลายู บอร์เนียวใต้และฟิลิปปินส์ จำนวนเล็กน้อยเดินทางลงใต้ไปยังเกาะสุมาตราและชวาหรือไปทางตะวันตกสู่โอมานและเยเมนในช่วงฤดูหนาว สำหรับที่ไต้หวันนกชนิดนี้กำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

นกอีแจวส่วนใหญ่เป็นนกที่อยู่ประจำถิ่นแต่ก็มีบางส่วนจากจีนตอนใต้และเทือกเขาหิมาลัยอพยพลงมายังคาบสมุทรอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย

สำหรับประเทศไทยนกอีแจวมีทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพ โดยสามารถพบได้บ่อยในบางพื้นที่เช่นบึงบอระเพ็ดจังหวัดนครสวรรค์ หรือตามบึงบัว บ่อปลาสลิด ทุ่งนาที่มีน้ำท่วม เป็นต้น

นกปรอดดำ 

นกปรอดดำ Hypsipetes leucocephalus (Black Bulbul) เป็นนกปรอดที่จำแนกได้ง่ายที่สุดในจำนวนนกปรอดทั้งหมดก็ว่าได้ เพราะมีจุดเด่นที่ไม่เหมือนใครคือมีขนคลุมลำตัวทั้งหมดสีดำ โดยขนคลุมลำตัวด้านล่างจะสีจางกว่าด้านบนเล็กน้อย ปาก ขา และเท้าสีแดง นกตัวเมียสีจางกว่านกตัวผู้ นกตัวไม่เต็มวัยมีสีน้ำตาลทั้งตัวโดยปีกและหางจะมีสีเข้มกว่าส่วนอื่นๆ
นกปรอดดำมีความยาวจากปลายปากจรดปลายหาง 23.5-26.5 เซนติเมตร ใหญ่กว่านกปรอดสวนที่เห็นได้ทั่วไปซึ่งมีขนาด17.5-19.5เซ็นติเมตรอยู่มากพอสมควรทีเดียว







อาหารของนกปรอดดำก็เหมือนนกปรอดอื่นๆคือกินลูกไม้สุก ดอกไม้ป่า หนอน แมลงขนาดเล็ก เราจะพบนกชนิดนี้เป็นคู่หรือฝูงเล็กๆ หรือเป็นฝูงใหญ่มากนอกช่วงฤดูผสมพันธุ์ หากินตามยอดไม้สูง ขยันหากิน ไม่ค่อยหยุดนิ่ง ตามป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา และป่าชั้นรองในระดับความสูง500-2565เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่ในฤดูหนาวอาจลงมาหากินที่ระดับ120เมตรจากระดับน้ำทะเลได้

นกชนิดนี้ทำรังในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน ทำรังเป็นรูปถ้วยก้นตื้นตามกิ่งหรือง่ามไม้สูงจากพื้นดินราว2-6เมตร วางไข่ราว2-4ฟอง ขนาด 21.7x19.9มม. ทั้งพ่อและแม่นกช่วยกันทำรังฟักไข่เลี้ยงลูกอ่อนโดยเริ่มฟักตั้งแต่วางไข่ฟองแรกใช้เวลาฟักราว15วันและอยู่ในรังต่อราว14-15วัน







สำหรับประเทศไทย เราสามารถพบนกปรอดดำได้ 4 ชนิดย่อย ชนิดย่อยหลัก concolorซึ่งมีความหมายว่ามีสีเดียวเป็นชนิดที่เป็นนกประจำถิ่น อีก 3 ชนิดย่อยเป็นนกอพยพนอกฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งหาพบได้ยาก หากต้องการข้อมูลเกี่ยวกับชื่อชนิดย่อยและลักษณะ คลิกที่นี่

นกปรอดดำที่เป็นนกประจำถิ่นเป็นนกประจำถิ่นทางภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตก สถานที่ที่จะพบนกชนิดนี้ได้ง่ายๆได้แก่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร หน่วยช่องเย็นของอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ดอยอินทนนท์ เป็นต้น







ภาพนกปรอดดำนี้ถ่ายมาจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว นกลงมากินน้ำที่บ่อน้ำเทียมที่เจ้าหน้าที่ของทางเขตฯทำเอาไว้